การเปลี่ยนแปลงของวัสดุ เมื่อมีแรงมากระทำ
การเปลี่ยนแปลงของวัสดุ เมื่อมีแรงมากระทำ
ของเล่นของใช้ที่ทำมาจากวัสดุหลายชิ้น
ของเล่นของใช้ที่ทำมาจากวัสดุหลายชิ้น
อาหารหลัก 5 หมู่
อาหารหลัก 5 หมู่
สิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นอาศัยอยู่ที่ไหน
สิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นอาศัยอยู่ที่ไหน
การทำโมบายกวางเรนเดียร์
การรับส่ง E-Mail
การรับส่ง E-Mail
เมื่อต้องการส่ง E-Mail มีส่วนประกอบสำคัญที่ต้องให้รายละเอียด คือ
1. To (ถึง): ระบุ E-Mail Address ของผู้รับปลายทาง
2. Subject (เรื่อง): ใส่หัวเรื่องย่อๆของเนื้อหา
3. CC (สำเนา): เป็นการระบุ E-Mail Address ของผู้ที่เราต้องการให้ได้รับสำเนาของจดหมายฉบับนี้ด้วย
4. BCC (สำเนาลับ): เช่นเดียวกับ CC แต่ทำให้ผู้รับไม่ทราบว่าเราต้องการ ส่งใคร
5. Attachmen (แนบไฟล์)t: เราสามารถแนบไฟล์ไปกับการส่ง E-Mail ด้วยก็ได้
6. Body (ข้อความ): เป็นเนื้อหาข้อความของจดหมาย
1. ให้นักเรียนส่ง e-mail มาที่ krootoo.2527@gmail.com โดยระบุข้อความดังนี้
- ชื่อ-สกุล :
- ชื่อเล่น :
- วันเดือนปีเกิด :
- วิชาที่ชอบ :
- วิชาที่ไม่ชอบ :
- งานอดิเรก หรือ สิ่งที่ชอบทำเวลาว่าง :
- สีที่ชอบ :
- กีฬาที่ชอบ :
- อาหารที่ชอบ :
- อาหารที่ไม่ชอบ :
บทที่ 3 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)
E-Mail คืออะไร
……จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) คือ การส่งข้อความหรือข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นๆ ผ่านทางคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเหมือนกับการส่งจดหมาย แต่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณข้อมูลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยเปลี่ยนการนำส่งจดหมายจากบุรุษไปรษณีย์มาเป็นโปรแกรม และเปลี่ยนจากการใช้เส้นทางจราจรคมนาคมทั่วไปมาเป็นช่องสัญญาณรูปแบบต่างๆ ที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะตรงเข้ามาสู่ Mail Box ที่ถูกจัดสรรใน Server ของผู้รับปลายทางทันที
เราใช้ E-Mail ทำอะไรกัน
……ปัจจุบันนี้ด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทำให้ระบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลถึงกันสามารถทำได้อย่างง่ายดาย อินเตอร์เน็ตนับเป็นระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เพราะมีผู้ใช้งานมากกว่า 25 ล้านคน ติดต่อเข้าใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อส่ง E-Mail
……E-Mail นับเป็นทางเลือกใหม่ของการติดต่อสื่อสาร ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีระบบเครือข่าย ทำให้การส่งหรือรับ E-Mail ไม่ว่าผู้ส่งและผู้รับจะอยู่ที่ใด เป็นไปได้ในช่วงเวลาที่สั้นและรวดเร็ว สามารถส่งหรือรับข้อมูลได้ทันที และตลอดเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบ โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะสัมพันธ์กับค่าโทรศัพท์ที่ใช้ และค่าธรรมเนียมในการขอใช้บริการจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
……เราใช้ E-Mail เพื่อส่งข้อมูลที่สามารถจัดเก็บในรูปแบบของแฟ้มข้อมูล (File) คอมพิวเตอร์ได้ทุกประเภท ไม่ว่านั่นจะเป็นเพียงข้อความจดหมายเพื่อพูดคุยธรรมดาหรือเป็นแฟ้มข้อมูลรูปภาพ รวมทั้งยังสามารถแนบแฟ้มข้อมูลเอกสาร หรือข้อมูลต่างๆได้อีกด้วย
ในเชิงธุรกิจ E-Mail จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ยังสามารถส่งจดหมายฉบับเดียวกันถึงผู้รับปลายทางได้เป็นจำนวนมาก ทำให้มีการนำ E-Mail มาใช้เพื่อการโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการได้อีกด้วย
มาทำความรู้จักและเรียนรู้วิธีใช้งาน E-Mail กัน
……ในการใช้งาน E-Mail จำเป็นจะต้องมี E-Mail Address เสียก่อน โดย E-Mail Address จะเป็นเหมือนที่อยู่ทางอินเตอร์เน็ตของแต่ละคน มักจะแทนด้วยชื่อหรือรหัสที่ใช้แทนตัว แล้วตามด้วยชื่อของ Mail Server ที่ให้บริการ เช่น krootoo.2527@gmail.com โดยทั่วไป E-Mail Address จะประกอบด้วย
– User ID ใช้เป็นชื่อหรือรหัสประจำตัวของผู้ใช้บริการแต่ละคน (เช่น krootoo.2527)
– เครื่องหมาย @
– Domain Name ของ Mail Server ที่ใช้บริการ (เช่น gmail.com , hotmail.com)
ที่มา : https://krukoon.wordpress.com/
บทที่ 2 การวางเค้าโครงนำเสนอข้อมูล
1. การนำเสนอข้อมูล
การจัดทำข้อมูลนำเสนอต้องพิจารณาเลือกใช้รูปแบบของข้อมูลให้เหมาะสมกับการสื่อความหมาย เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจเนื้อหาที่นำเสนอได้ตรงประเด็นและชัดเจน รูปแบบของข้อมูล เช่น ข้อความ ภาพ แผนภูมิ
การนำเสนอข้อมูลทำได้หลายรูปแบบ เช่น เอกสาร สไลด์ ป้ายนิเทศ จึงควรเลือกใช้โปรแกรมให้เหมาะสมกับรูปแบบนำเสนอ เช่น
- นำเสนอเป็นเอกสารใช้โปรแกรมประมวลคำ เช่น Word
- นำเสนอเป็นสไลด์ใช้โปรแกรมนำเสนอ เช่น Power Point
2. การวางเค้าโครงนำเสนอ
การนำเสนอข้อมูลควรมีการวางเค้าโครง เพื่อให้การนำเสนอน่าสนใจและมีประสิทธิภาพ การวางเค้าโครงนำเสนอประกอบด้วย 5 ส่วน คือ
2.1 ส่วนปก คือ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นำเสนอ ชื่อโรงเรียน วันเดือนปี
2.2 ส่วนรายการหัวข้อ คือ หัวข้อที่จะนำเสนอ เรียงลำดับก่อนหลังตามความสำคัญของเนื้อหา
2.3 ส่วนนำ คือ รายละเอียดเบื้องต้นสำหรับกล่าวนำก่อนอธิบายเนื้อหา เช่น วัตถุประสงค์ ที่มา ความสำคัญของเรื่องที่นำเสนอ
2.4 ส่วนเนื้อหา คือ ข้อมูลที่รวบรวมไว้ เช่น ข้อความ รูปภาพ ตาราง แผนภูมิ
2.5 ส่วนสรุป คือ การสรุปเนื้อหาทั้งหมดแบบสั้นๆ เน้นเฉพาะส่วนสำคัญที่อยากให้ผู้อ่านเข้าใจ และควรบอกที่มาของแหล่งข้อมูลด้วย
การจัดทำข้อมูลนำเสนอต้องพิจารณาเลือกใช้รูปแบบของข้อมูลให้เหมาะสมกับการสื่อความหมาย เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจเนื้อหาที่นำเสนอได้ตรงประเด็นและชัดเจน รูปแบบของข้อมูล เช่น ข้อความ ภาพ แผนภูมิ
การนำเสนอข้อมูลทำได้หลายรูปแบบ เช่น เอกสาร สไลด์ ป้ายนิเทศ จึงควรเลือกใช้โปรแกรมให้เหมาะสมกับรูปแบบนำเสนอ เช่น
- นำเสนอเป็นเอกสารใช้โปรแกรมประมวลคำ เช่น Word
- นำเสนอเป็นสไลด์ใช้โปรแกรมนำเสนอ เช่น Power Point
2. การวางเค้าโครงนำเสนอ
การนำเสนอข้อมูลควรมีการวางเค้าโครง เพื่อให้การนำเสนอน่าสนใจและมีประสิทธิภาพ การวางเค้าโครงนำเสนอประกอบด้วย 5 ส่วน คือ
2.1 ส่วนปก คือ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นำเสนอ ชื่อโรงเรียน วันเดือนปี
2.2 ส่วนรายการหัวข้อ คือ หัวข้อที่จะนำเสนอ เรียงลำดับก่อนหลังตามความสำคัญของเนื้อหา
2.3 ส่วนนำ คือ รายละเอียดเบื้องต้นสำหรับกล่าวนำก่อนอธิบายเนื้อหา เช่น วัตถุประสงค์ ที่มา ความสำคัญของเรื่องที่นำเสนอ
2.4 ส่วนเนื้อหา คือ ข้อมูลที่รวบรวมไว้ เช่น ข้อความ รูปภาพ ตาราง แผนภูมิ
2.5 ส่วนสรุป คือ การสรุปเนื้อหาทั้งหมดแบบสั้นๆ เน้นเฉพาะส่วนสำคัญที่อยากให้ผู้อ่านเข้าใจ และควรบอกที่มาของแหล่งข้อมูลด้วย
ตัวอย่างสไลด์นำเสนอ เรื่อง การทำขนมครก
บทที่ 1 ตัวอย่างการรวบรวมข้อมูล
หัวข้อ การทำขนมครก
1. กำหนดวัตถุประสงค์
เพื่อบอกวิธีการทำขนมครก
2. วางแผนรวบรวมข้อมูล
2.1 กำหนดหัวข้อที่ต้องการศึกษา
ส่วนผสม วิธีทำ ภาพขนมครก
2.2 เลือกแหล่งข้อมูล
อินเตอร์เน็ต และแม่ค้าขายขนมครก
2.3 เขียนแผนปฎิบัติการ
วันที่ 30/11/60 เวลา 10.30 น. ค้นหาข้อมูลที่ห้องคอมพิวเตอร์
วันที่ 1/12/60 เวลา 9.00 น. ไปสอบถามจากแม่ค้าขนมครก
2.4 เตรียมอุปกรณ์
สมุดจดบันทึก ดินสอ ยางลบ ปากกา กล้องถ่ายรูป
3. ดำเนินการค้นหาและรวบรวมข้อมูล
ส่วนผสม
ส่วนผสม แป้งขนมครก
► แป้งข้าวเจ้า 1+1/4 ถ้วย
► ข้าวสุก 1/3 ถ้วย
► น้ำตาลทราย 1/8 ถ้วย
► เกลือสมุทร 1 ช้อนชา
► น้ำปูนใส 1/4 ถ้วย
► หัวกะทิ 1 ถ้วย
► หางกะทิ 1/2 ถ้วย
ส่วนผสม หน้ากะทิ
► หัวกะทิ 3/4 ถ้วย
► น้ำตาลทราย 1/8 ถ้วย
► เกลือสมุทร 1/4 ช้อนชา
► แป้งข้าวเจ้า 1/2 ช้อนโต๊ะ
ส่วนผสม หน้าขนมครก
► ต้นหอมซอย
► เผือกหั่นเต๋าเล็ก ๆ
► เม็ดข้าวโพด
► น้ำมันพืช (สำหรับทาหลุมขนมครก)
วิธีทำขนมครก
วิธีทำแป้งขนมครก
► นำส่วนผสมตัวแป้ง (แป้งข้าวเจ้า ข้าวสุก น้ำตาลทราย เกลือสมุทร น้ำปูนใส หัวกะทิ และหางกะทิ) ไปปั่นด้วยเครื่องปั่นจนละเอียดเข้ากันเป็นเนื้อเดียว
► เทส่วนผสมใส่ภาชนะแล้ววางพักทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที
วิธีทำหน้ากะทิขนมครก
► ผสมหัวกะทิ น้ำตาลทราย และเกลือสมุทรเข้าด้วยกัน คนผสมจนน้ำตาลทรายละลาย
► ค่อย ๆ ใส่แป้งข้าวเจ้าลงไป คนผสมให้ละลายเข้ากันดี เตรียมไว้
วิธีทำขนมครก
► นำเบ้าขนมครกขึ้นตั้งใฟให้ร้อน ใช้ไฟกลาง ทาน้ำมันให้ทั่วหลุมแล้วตักแป้งหยอดแลงไปลงไปประมาณ 3/4 ของหลุม
► พอแป้งเริ่มเซตตัว ตักส่วนผสมหน้ากะทิหยอดทับทิลงไปให้เต็ม
► ปิดฝาขนมครกแล้วรอให้แป้งเริ่มสุก
► พอขนมเริ่มสุก เปิดฝาโรยหน้าด้วยเผือก ข้าวโพด และต้นหอมซอย (สูตรนี้ใช้วิธีโรยรวม ๆ กัน 3 in 1 ในเบ้าเดียวกัน)
► เมื่อขนมสุกใช้ช้อนแคะขนมออกจากเบ้า
4. พิจารณาข้อมูลและสรุปผล
ขนมครก เป็นขนมไทยโบราณชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งน้ำตาลและกะทิ แล้วเทลงบนเตาหลุม เวลาจะรับประทานต้องแคะออกมา เป็นแผ่นวงกลม แล้วมักวางประกบกันตอนรับประทาน ในปัจจุบันได้มีการประยุกต์หน้าขนมครกให้หลากหลายมากขึ้น เช่น เผือก ข้าวโพด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
0 ความคิดเห็น: